



ผู้เข้าชมเว็บไซต์
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
ผู้เข้าชมวันนี้
ผู้เข้าทั้งหมด
1
21
62,718
อย่ามองข้าม กิจกรรมเสริมพัฒนาการของลูก
เมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัย 1-3 ปี คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มเห็นแล้วว่าลูกมีพัฒนาการทางด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่ค่อนข้างเด่นชัดขึ้น นั่นเป็นเพราะเซลล์สมองส่วนนี้มีการพัฒนาขึ้นมาก ยิ่งถ้าได้การกระตุ้นและส่งเสริมอย่างเพียงพอจะช่วยให้สมองพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมสำหรับเด็ก
การเรียนรู้ของลูกในวัย 1-2 ปี ต่อเนื่องมาจากช่วงวัยขวบแรกที่เน้นการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส ลูกจึงจะเรียนรู้เรื่องร่างกายของตัวเองเป็นหลัก ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของการเคลื่อนไหว โดยจะไล่จากส่วนหัวไปถึงเท้า สามารถเชื่อมโยงระหว่างสัมผัสการเคลื่อนไหวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ เมื่อเข้าสู่วัย 2-3 ปีจะเริ่มมีการพัฒนาในด้านความคิด มีจินตนาการ เริ่มเรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องเห็นของเล่นหรือสัมผัส แค่คิดในใจก็สามารถเล่นได้ ดังนั้นการเล่นจะอยู่ในรูปแบบสมมติ หรือเห็นรูปภาพก็รู้ว่าภาพนั้นเป็นตัวแทนของจริงได้ รู้ว่ารูปนกที่เห็นในหนังสือนิทานร้องอย่างไร สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่สัญลักษณ์ได้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะทำคือ เข้าไปมีกิจกรรมส่วนร่วมในการเรียนรู้พร้อมๆ กันกับลูก ก็จะช่วยให้ลูกอยากได้รับพัฒนาการที่สมวัยพร้อมที่จะเรียนรู้โลกมากขึ้นด้วยหนังสือของเด็ก
ประเภทหนังสือนิทาน : หนังสือนิทานภาพ หนังสือนิทานกึ่งของเล่น เช่น หนังสือผ้า หนังสือลอยน้ำ และหนังสือ Board Books หนังสือนิทานป็อปอัพ
หนังสือควรมีภาพขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน สีสันสดใส อย่าเพิ่งเลือกเล่มที่มีลายเส้นยุ่งเหยิงวุ่นวายจนดูไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร และที่สำคัญหากเป็นภาพที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ควรเป็นภาพที่มีลักษณะคล้ายของจริงมากที่สุด เช่น หู ตา จมูก ปาก เนื้อเรื่องควรจะมีเนื้อหาที่สั้น เหตุการณ์ในนิทานไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป สีสันสดใส ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง มีความกระชับ เข้าใจง่าย และสุภาพ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้คำและภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปเล่มมีความทนทานต่อการใช้งาน ไม่มีมุมแหลมคม ขนาดเล่มไม่หนาเกินไป ส่วนกระดาษที่ใช้ก็ไม่ควรบางและคมเกินไปเพราะวัยนี้เริ่มใช้มือเปิดหนังสือเองได้แล้ว เปิดโอกาสให้ลูกได้พูดคุย ซักถามเรื่องราวในนิทานบ้าง เพราะเขาอยู่ในวัยช่างคุย และมีความสุขที่จะได้พูด ชวนให้ลูกถาม-ตอบ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในนิทาน จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มเติม อย่าลืมสร้างบรรยากาศการอ่านให้สนุกสนานและน่าสนใจ เป็นการสร้างการจดจำที่ดีกับการอ่านให้หนังสือได้ด้วยดนตรีกระตุ้นพัฒนาการ
ดนตรีเป็นเครื่องมือให้ลูกเรียนรู้ทางประสาทสัมผัสมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำมากขึ้น และพัฒนาการด้านร่างกายก็พร้อมเกือบเต็มที่ สามารถควบคุมแข้งขา กระโดดโลดเต้นได้อย่างใจ สามารถจับจังหวะของดนตรี อีกทั้งเสียงเพลงยังสร้างความสนุกและสุนทรียภาพในจิตใจ เสียงเพลงจึงเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นพัฒนาการอย่างครบถ้วนหาของเล่นที่มีเสียง เช่น ของเล่นประเภทเคาะ หรือแบบเขย่าแล้วมีเสียง เช่น กลองใบเล็ก ลูกแซค เลือกที่ไซส์เล็กขนาดเหมาะมือลูก วัยเริ่มหัดพูดควรสอดแทรกการร้องเพลงไปพร้อมๆ กับการหัดพูด ลูกจะสามารถจับจังหวะเพลง ฮัมเพลงตามจังหวะร้องเป็นคำคล้องจอง แถมท่าทีประกอบเพลงด้วยก็จะสนุกมาก อัดเทปเสียงร้องของลูกให้ลูกฟัง เขาจะรู้สึกตื่นเต้นกับเสียงที่ได้ยินเป็นการกระตุ้นให้อยากส่งเสียงร้องควรร้องเพลงที่มีเนื้อร้องประกอบกิจวัตรประจำวัน ทำให้เด็กสนุกมากขึ้น เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ช่วงวัยนี้ลูกจะเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งดนตรีกับการเคลื่อนไหวจะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ สร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัว รู้จักฟัง และแสดงออกในจังหวะที่เหมาะสม เด็กก็จะมีการพัฒนาประสาทการรับรู้และการเคลื่อนไหวให้มีความสัมพันธ์และแม่นยำมากขึ้น
ของเล่นสำหรับเด็ก
การจะช่วยเสริมพัฒนาการของลูกน้อยนั้นไม่จำเป็นต้องซื้อของเล่นที่มีราคาแพง เพียงแค่เข้าใจพัฒนาการของลูกและร่วมเล่นกับลูกไปด้วยกัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเขาอย่างมีความสุขหนังสือนิทาน
หนังสือนิทานยังเป็นเครื่องมือชั้นยอดของการคิดสร้างสรรค์ เมื่อคุณพ่อคุณแม่อ่านให้ลูกฟังและให้เขาดูรูปตาม อาจจะตั้งคำถามปลายเปิดว่า ถ้าหนูเป็นหนูน้อยหมวกแดงจะเป็นยังไง หรือชี้ชวนให้ลูกดูรายละเอียดอื่นๆ ในภาพด้วย เช่น ดูแอบเปิ้ลว่ามีกี่ผล หมาป่าอยู่ตรงไหนนะ คุณควรจะใส่เอฟเฟคเสียงสูงต่ำ เพิ่มความน่าสนใจเข้าไปด้วย การอ่านบางช่วงบางตอนของนิทานเล่มโปรดแบบผิดๆ ถูกๆ จะช่วยกระตุ้นให้สมองของลูกทำงาน และก่อให้เกิดพฤติกรรม เช่น ทักท้วง "ไม่ใช่แบบนี้นะ" ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้โอกาสนี้ถามกลับว่า "แล้วที่ถูกมันควรเป็นอย่างไร" เพื่อกระตุ้นให้ลูกใช้ความคิด ฝึกการใช้ภาษา ฟื้นความทรงจำที่เขาเก็บไว้ในคลังสมองออกมา และเมื่อเขาตอบถูก ก็อย่าลืมชมลูกเพื่อเสริมแรงบวก เติมเต็มความภาคภูมิใจและความเป็นตัวของตัวเองให้ลูกด้วยจิ๊กซอว์ บล๊อกไม้
ตัวต่อที่เหมาะสมตามวัยจะทำให้ลูกเกิดไอเดียต่อได้สารพัด และด้วยสีสันสดใสยิ่งทำให้เป็นจุดสนใจ ทั้งต่อยอดได้ตามจินตนาการ และแกะรื้อในเวลาเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกจิ๊กซอว์ที่ไร้มุมคมแหลม ที่มีขนาดไม่เล็กจนเกินไป รวมทั้งอาจจะซื้อแบบที่มีจำนวนชิ้นมากหน่อยเพื่อการต่อยอดชิ้นงานขนาดใหญ่ระบายสี
เตรียมกระดาษเปล่าขนาดใหญ่พร้อมกับสีเทียน ให้ลูกลงมือละเลงเล่นได้อย่างเต็มที่ในเนื้อกระดาษ แต่มีข้อห้ามอยู่ว่าอย่าใช้สมุดระบายสีที่มีกรอบรูปการ์ตูนเว้นช่องว่างให้ ระบายสี เพราะว่านั่นคือกรอบสกัดกั้นจินตนาการของลูกน้อยเล่นบทบาทสมมุติ
ลองชวนลูกมาเล่นละครสั้นๆ สนุกกัน หรือว่าจะเล่นเป็นนางเอก พระเอก พระราชา นางฟ้า อาชีพต่างๆ อะไรก็ได้ที่ให้ลูกได้สวมบทบาทใดบทบาทหนึ่ง เพราะสมองของเขายังไม่ตั้งกฎกติกามากมาย การเล่นแบบนี้จะทำให้เขาคิดเป็นธรรมชาติ และได้ลองทำในสิ่งที่คิดดูจริงๆ ซึ่งจะสร้างประสบการณ์ให้เขาได้มากมาย หรือคุณพ่อคุณแม่อาจจะหาของเล่นแปลกใหม่สักชิ้นใส่ลงไปในกล่อง แล้วชวนลูกคุยว่ามีอะไรอยู่ในนี้ อาจจะเขย่าให้ได้ยินเสียงเพื่อกระตุ้นความสงสัยใคร่รู้ หรือชวนลูกจับสัมผัส แล้วทายกันดูว่าเป็นอะไร เท่านี้ก็ช่วยให้สมองลูกตื่นตัวได้แล้วแป้งโดว์
ลูกๆจะปั้นเป็นอะไรก็ได้ เปิดไอเดียที่สร้างสรรค์ให้กับลูกไดเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กอีกด้วย สามารถตั้งแสดงเป็นผลงานโชว์ในบ้านได้อีกด้วยออกกำลังกาย
มาชวนลูกเล่นแตะสลับ กระชับความสัมพันธ์ของสมองทั้งสองซีกกันค่ะ โดยเริ่มจากยกขาข้างหนึ่งขึ้น ให้เข่าอยู่ในระดับสูงที่สุด แล้วแกว่งแขนข้างที่ตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้นแตะที่เข่านั้น ในขณะที่แขนอีกข้างหนึ่งก็เหวี่ยงวาดไปด้านหลัง จากนั้นก็ทำแบบเดิมนี้ล่ะ แต่เปลี่ยนเป็นขาและแขนอีกข้างหนึ่งแทน ทำสลับไปสลับมา ให้มือซ้ายแตะเข่าขวา มือขวาแตะเข่าซ้าย อย่างนี้ประมาณ 2-3 นาทีการเคลื่อนไหวร่างกายง่ายๆ นี้ ลูกไม่เพียงได้ออกกำลังกาย แต่ยังได้บริหารสมอง ฝึกให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาประสานงานกันได้อย่างสมดุล กระตุ้นให้สมองทำงานและเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
กิจกรรม
ตารางกิจกรรมประจำวัน สำหรับเด็กโต | |
07:00 – 08:30 น. | รับเด็ก รับประทานอาหารเช้า |
08:30 – 09:00 น. | เคารพธงชาติ สวดมนต์ ทำสมาธิ |
09:00 – 09:30 น. | เล่นอิสระเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต |
09:30 – 10:00 น. | ดื่มนม, รับประทานอาหารว่าง, เปลี่ยนแพมเพิร์ส |
10:00 – 11:00 น. | เสริมสร้างทักษะ ระบายสี ฝึกเขียน |
(Morning English ทุกวันพุธ และวันศุกร์) กิจกรรมในวงกลม (ร้องเพลง,ฟังนิทาน,ท่องคำศัพท์) | |
11:00 – 11:30 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
11:30 – 15:00 น. | ดื่มนม – นอนหลับพักผ่อน |
15:00 – 15:30 น. | รับประทานอาหารว่าง |
15:30 – 16:00 น. | แปรงฟัน อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า |
16:00 – 16:30 น. | รับประทานอาหารเย็น |
***(เฉพาะเด็กฝากเลี้ยงเวลา 07:00 - 18:00 น.และเด็กดูแลหลังเลิกเรียนเวลา 15.00 – 18.00 น ) | |
16:30 – 17:00 น. | เล่นอิสระเสริมพัฒนาการ ดื่มนม ดู VDO สื่อการเรียนการสอน รอผู้ปกครองมารับ |
***กิจกรรมประจำวันอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม |
ตารางกิจกรรมประจำวัน สำหรับเด็กอ่อน | |
07:00 – 08:00 น. | รับเด็ก เล่นอิสระเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต |
08:00 – 08:30 น. | รับประทานอาหารเช้า |
08:30 – 09:00 น. | ทำกิจกรรม,ฟังนิทาน |
09:00 – 09:15 น. | เปลี่ยนแพมเพิร์ส |
09:15 – 11:30 น. | ดื่มนม, นอน |
11:30 – 12:30 น. | เสริมสร้างพัฒนาการ |
12:30 – 12:45 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
12:45 – 15:00 น. | ดื่มนม, นอน |
15:00 – 15:30 น. | ทานผลไม้, อาหารว่าง |
15:30 – 16:00 น. | อาบน้ำ, เปลี่ยนเสื้อผ้า |
16:00 – 16:30 น. |
รับประทานอาหารเย็น
*** (เฉพาะเด็กฝากเลี้ยงเวลา 07:00 - 18:00 น.) |
16:30 – 17:00 น. | เล่นอิสระเสริมพัฒนาการ, ดื่มนม รอผู้ปกครองมารับ |
***กิจกรรมประจำวันอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม |